หากขับรถแล้วมีอาการง่วงนอน
อาจจะมีอาการหลับในทำอย่างไรดี ?

อาการง่วงนอน

จริงอยู่ว่ามีวิธีการหลากหลายที่ช่วยให้ลด อาการง่วงนอน หรือ อาการที่จะหลับใน สำหรับวิธีการที่จะกล่าวต่อไปนี้นั้น สามารถกระทำได้โดยเพียงแค่รถหยุด (ชั่วขณะ) เท่านั้น เช่น รถติดหรือขณะขับทางไกลแล้วมีอาการที่จะหลับในให้ทำการจอดรถ (สักพัก) ผู้ขับขี่สามารถกระทำได้โดยทันที ถึงแม้ว่าจะนั่งอยู่ที่ตำแหน่งผู้ขับขี่ก็ตาม โดย...ไม่ต้องดับเครื่องยนต์, ไม่ต้องลงมาจากรถ, ไม่ต้องปลดเข็มขัดนิรภัย, ไม่ต้องเอากระจกหน้าต่างลง เรียกได้ว่าไม่ต้องทำการใด ๆ เพียงแค่หยุดรถเท่านั้น

บริหารร่างกายจากบนลงล่าง

หากพบว่าจะ ง่วงนอน หรือจะมี อาการที่จะหลับใน วิธีการดังกล่าวที่จะแนะนำในแต่ละช่วง ๆ เพียงแค่ 10 วินาที หลังจากที่รถจอดสนิทแล้ว เริ่มปฏิบัติกันได้เลย (บริหารร่างกายจากบนลงล่าง)

  • ใช้มือทั้งสองข้างบีบนวดหรือการคลึงให้ทั่วบริเวณศรีษะ ด้านบนด้านล่าง ด้านข้างด้านซ้ายด้านขวา ขมับ ตลอดจนหน้าผาก ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • บริหารกล้ามเนื้อคอ โดยการบิดคอไปทางด้านซ้ายด้านขวาให้สุดแล้วค้างไว้สักครู่ และทำสลับกันไปมา ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • บริหารต้นคอ โดยการ ก้มและเงยหน้า สลับกัน ไปมา ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • บริหารต้นคอ โดยการใช้มือทั้งสองข้างทำการบีบนวดรอบ ๆ คอให้ทั่ว ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • บริหารหัวไหล่ โดยการยกหัวไหล่ทั้งสองข้างขึ้นและลงสลับกันไปมา ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • บริหารหัวไหล่ โดยการใช้มือทั้งสองข้างบีบนวดบริเวณหัวไหล่ตลอดจนไหปลาร้าด้วย ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • บริหารหัวไหล่ ทำการหมุนหัวไหล่ไปทางด้านหน้าและหลังสลับกันไปมา ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • ทำการบีบนวดบริเวณท่อนแขนตั้งแต่หัวไหล่ลงมาถึงข้อมือ ข้างซ้ายและขวาสลับกัน ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • ทำการบีบนวดข้อมือทั้งสองข้างสลับกัน เวลาประมาณ 10 วินาที
  • ทำการกำมือทั้งสองข้างและคายออก สลับกันไปมา ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • ทำการบีบนวดให้ทั่วฝ่ามือตลอดจนนิ้วมือทุกนิ้ว สลับกันไปมา ซ้ายและขวา ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • สะบัดข้อมือทั้งสองข้าง แกว่งไปมา ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • ทำการยืดแขนไปทางทิศทางด้านหน้าและหดกลับ ทั้งสองข้าง ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • ทำการบิดเอวให้สุดค้างไว้สักครู่ไปทางซ้ายและขวาสลับกันไปมา ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที

ตามที่กล่าวมาในแต่ละหัวข้อนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นการปฏิบัติของผู้ขับขี่ที่อยู่ในท่านั่งขับเท่านั้น หากต้องการบริหารร่างกายในส่วนอื่นๆเพื่อให้คลายง่วง สามารถกระทำได้ ไม่ว่าจะเป็น เช่น การล้างหน้า การดื่มเครื่องดื่มที่แก้ง่วง การออกมานอกรถเพื่อบริหารร่างกายของส่วนต่าง ๆ การดมยาดม การดึงขนจมูก การเปิดเพลงดัง ๆ การเปิดหน้าต่างขับรถ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งแล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้นะครับ ท้ายนี้ ขอให้ผู้ขับขี่ทุกท่านปลอดภัยตลอดการเดินทาง ความปลอดภัยของท่านคือความตั้งใจของเรา

+

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

พิธานเพื่อสังคม รูปสวัสดีตอนเช้า ธุรกิจในเครือบริษัท กิจกรรมเพื่อสังคม ความรู้ทางด้านเทคนิครถยนต์